5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้า
ในสมัยก่อน การทำธุรกิจและต้องสร้างโรงงานและโกดังสินค้า ก็สามารถทำได้เลย ไม่ต้องคิดมาก แต่ในปัจจุบัน การสร้างโรงงานจะอยู่ภายใต้กฎหมาย รวมถึงสิ่งสำคัญอย่าง “ภาษีสิ่งปลูกสร้าง” หากใครคิดจะสร้างโรงงานควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อภกฎหมายภาษีที่ว่านี้ก่อนค่ะ ซึ่งเราได้นำข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานและโกดังสินค้ามาฝากกัน ว่าจะมีข้อมูลใดบ้างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายได้ด้วยตัวเอง
- ทำไมต้องเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
หลายคนอาจจะสงสัยว่า การจะปลูกบ้าน สร้างโรงงานหรือจะเป็นโกดังคลังสินค้า สร้างไปเลยไม่ได้หรือ ทำไมต้องเก็บภาษีด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการเก็บภาษีมีดังนี้
- เพิ่มความเป็นอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ช่วยให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญในระยะยาว
- สร้างความเข้มแข็งและโปร่งใสในการบริหารการคลังของ อปท.
- ประเภทของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- ที่อยู่อาศัย : ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลักคือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้
- ที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่น ๆ : อาคารที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น โรงงาน, คลังสินค้า, โกดัง, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร
- ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ : กรณีเป็นที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้า
สำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้านั้นถูกจัดอยู่ในประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่น ๆ โดยมีการกำหนดอัตราภาษี 2 ปีแรก คือปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นโรงงานและโกดังคลังสินค้าหรือประเภทอื่น ๆ ได้แก่
- มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3 %
- มูลค่า 50 – 200 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.4 %
- มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.5 %
- มูลค่า 1,000- 5,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.6 %
- มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7 %
- วิธีและตัวอย่างการคำนวณภาษี
สำหรับผู้ประกอบการคนไหนที่อยากจะคำนวณภาษีด้วยตัวเอง เรามีวิธีการคำนวณคร่าว ๆ มาแชร์ให้ดูพร้อมตัวอย่างค่ะ
- วิธีการคำนวณคือ ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี (แต่ละประเภท) ภาษีปี พ.ศ.2563 อาคารโรงงานและที่ดิน ราคาประเมิน 20 ล้านบาท 20,000,000 x 0.3% = 60,000 บาท
- กรณีที่ได้รับยกเว้น วิธีการคำนวณคือ (ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง-มูลค่าได้รับยกเว้น) x อัตราภาษี (แต่ละประเภท) ภาษีปี พ.ศ.2563 บ้านพร้อมที่ดิน ราคาประเมิน 60 ล้านบาท ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นประเมิณ 50 ล้านบาท ( 60,000,000 – 50,000,000 ) x 0.03% = 3,000 บาท
- ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้า จ่ายออนไลน์ได้ไหม?
โดยทั่วไปแล้ว การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามารถชำระได้ถึง 4 ช่องทาง รวมการจ่ายออนไลน์ผ่านแอปธนาคาร วิธีการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีดังนี้
- กรุงเทพมหานครชำระที่สำนักงานเขต และต่างจังหวัดชำระที่หน่วยงานที่ระบุตามจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับ
- เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- Internet Banking ทุกธนาคาร
- Mobile Banking ทุกธนาคาร
เพราะภาษีเป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้นหากใครคิดอยากจะสร้างโรงงานหรือโกดังคลังสินค้า จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ติดต่อสร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้า
✅Best Price
✅โครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง
✅ประกอบติดตั้งด้วยระบบน๊อคดาวน์
✅การบำรุงรักษาต่ำ
✅แข็งแรง สวยงาม ตามมาตรฐานวิศวกรรม
✅คุ้มค่า งบประมาณไม่บานปลาย
✅มีผลงานก่อสร้างแล้ว มากมาย ทั่วประเทศ
✅รับสร้างตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป
ติดต่อ ☎️: 061-783-2233 : เยาว์ 094-464-6336 : ฟ้า
Line ID 📲: @tfcons หรือคลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/t2akh7n
เวลาทำการ ⏰: 9.00-18.00 วันจันทร์ – ศุกร์
คลิกชมเว็ปไซต์ 🌐: www.tf-cons.com