เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า หรือฉุดให้การเงินภายในธุรกิจเราขาดทุน แนะนำให้พิจารณาทั้ง 7 ข้อ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มต้น การทำโรงงานเป็นของตัวเองจะช่วยส่งเสริมในด้านของคุณภาพการผลิต การบริหารคลังสินค้า และช่วยให้การส่งออกกระจายผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องง่ายขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตด้านธุรกิจในระยะยาว แต่การจะสร้างโรงงานเป็นของตัวเอง นั่นไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่าย ๆ เพราะมีปัจจัยมากมายให้ต้องคำนึง หากมีการเตรียมตัวและศึกษาให้พร้อมก่อน จะช่วยลดความยุ่งยาก และป้องกัน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ก่อนที่จะเริ่มต้นทำโรงงานนั้น มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มต้นสร้างเป็นอย่างมาก ไม่วาจะเป็นในเรื่องของงบประมาณการก่อสร้าง รวมถึงมาตรฐานภายในที่เพียงพอ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเด็นหลัก ๆ ที่ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วน มีดังต่อไปนี้
1.ประเภทของโรงงานและการยื่นคำขออนุญาต
ในขั้นตอนแรกเริ่มของการทำโรงงานนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตเปิดให้ถูกกฎหมาย แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนนั้น ต้องตรวจสอบก่อนว่าโรงงานที่คุณตั้งใจจะทำนั้นจัดอยู่ในประเภทใด ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ได้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- โรงงานประเภทที่ 1 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังไม่เกิน 20 แรงม้าหรือเทียบเท่า และมีคนงานไม่เกิน 20 คน หากเป็นโรงงานประเภทนี้ สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3)
- โรงงานประเภทที่ 2 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า หรือเทียบเท่า และมีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โรงงานประเภทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต แต่จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมรายปีในทุก ๆ ปี (ยกเว้นกรณีที่ประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดมลพิษ ให้จัดเป็นจำพวกเดียวกับโรงงานประเภทที่ 3 เช่นเดียวกัน)
- โรงงานประเภทที่ 3 หมายถึง โรงงานที่เครื่องจักรมีกำลังเกินกว่า 50 แรงม้า และมีคนงานมากกว่า 50 คน หรือเป็นกิจการที่ก่อให้เกิดมลพฺษจากการผลิต โรงงานประเภทนี้จำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินกิจการได้
ทั้งนี้โรงงานทุกประเภทจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฏที่กำหนดจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด รวมถึงรับฟังและปฏิบัติตามหากมีการประกาศชี้แจงเพิ่มเติมด้วย
2.ตรวจสอบข้อห้ามสถานที่ตั้ง
ไม่ใช่ทุกสถานที่ที่สามารถทำการปลูกสร้างโรงงานได้ในทันที หากไม่ทันศึกษาให้ดีก่อนแล้วไปสร้างในสถานที่ต้องห้าม อาจต้องเสียค่าชดเชยจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังต้องเสียค่ารื้อถอนอีก
เมื่อได้ทราบแล้วว่าโรงงานที่คุณต้องการจะสร้างนั้นจัดอยู่ในโรงงานประเภทอะไร คราวนี้มาดูกันว่าตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว โรงงานแต่ละประเภทสามารถจัดตั้งได้ที่บริเวณไหนบ้าง ดังนี้
- โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งภายในบริเวณหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือบ้านเพื่อพักอาศัย
- โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถานได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณะสถานและต้องอยู่ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
3.การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง
การก่อสร้าง ผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้จึงสำคัญที่สุด ในการคัดเลือกนั้น แนะนำว่าให้เลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการก่อสร้างโรงงานนั้น ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกับอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ด้านนี้ จึงสามารถทำได้ดีกว่า แม้ว่าผู้รับเหมาที่สร้างโรงงานโดยตรงจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างค่อนข้างสูง แต่ก็แลกมาด้วยคุณภาพตามจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป หากลองคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวที่ไม่ต้องมากังวลถึงปัญหาด้านโครงสร้างในอนาคต
ติดต่อสร้างโรงงาน สร้างคลังสินค้า
✅Best Price
✅โครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง
✅ประกอบติดตั้งด้วยระบบน๊อคดาวน์
✅การบำรุงรักษาต่ำ
✅แข็งแรง สวยงาม ตามมาตรฐานวิศวกรรม
✅คุ้มค่า งบประมาณไม่บานปลาย
✅มีผลงานก่อสร้างแล้ว มากมาย ทั่วประเทศ
✅รับสร้างตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป
ติดต่อ ☎️: 061-783-2233 : เยาว์ 094-464-6336 : ฟ้า
Line ID 📲: @tfcons หรือคลิ๊กลิงค์ https://lin.ee/t2akh7n
เวลาทำการ ⏰: 9.00-18.00 วันจันทร์ – ศุกร์
คลิกชมเว็ปไซต์ 🌐: www.tf-cons.com